Skip to content

องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหอม อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร

คู่มือประชาชน การจัดเก็บภาษีป้าย

คู่มือประชาชน การจัดเก็บภาษีป้าย

Loader Loading...
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

ดาวน์โหลด PDF...

งานที่ให้บริการ  การจัดเก็บภาษีป้าย หน่วยงานที่รับผิดชอบ    กองคลัง

 ขอบเขตการให้บริการสถานที่ / ช่องทางการให้บริการระยะเวลาเปิดให้บริการ

กองคลัง                    วันจันทร์ ถึง วันศุกร์
โทรศัพท์: —–             (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด)
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น. และ ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.

 

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำขอ

ป้ายที่ต้องเสียภาษีป้าย ได้แก่ ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือ ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมาย ที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ

 

ขั้นตอนและระยะการให้บริการ

ขั้นตอน                    หน่วยงานผู้รับผิดชอบ

๑. ยื่นเอกสาร             ๑. งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้  กองคลัง      (ระยะเวลา ๑ นาที)
๒. ตรวจสอบเอกสาร   ๒. งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้  กองคลัง     (ระยะเวลา ๒ นาที)
๓. ออกใบเสร็จ           ๓. งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้  กองคลัง     (ระยะเวลา ๒ นาที)

ระยะเวลา

ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น ไม่เกิน ๕ นาที

 รายการเอกสารหลักฐานประกอบเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้

กรณีป้ายรายเก่า

ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายครั้งก่อนจำนวน ๑ ฉบับ

กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่

๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน                 จำนวน ๑ ฉบับ
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน                                  จำนวน ๑ ฉบับ
๓. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                             จำนวน ๑ ฉบับ
๔. หนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท                     จำนวน ๑ ฉบับ
๕. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย        จำนวน ๑ ฉบับ

 

ค่าธรรมเนียม อัตราภาษี

๑. การคำนวณพื้นที่ป้าย อัตราค่าภาษีป้าย และการคำนวณภาษีป้าย

๑.๑ การคำนวณพื้นที่ป้าย

๑.๑.๑ ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้

ส่วนกว้างที่สุด x ส่วนยาวที่สุดของขอบป้าย

 

อัตราภาษีป้ายปีตามเกณฑ์ใหม่ เนื่องจากอัตราภาษีป้ายได้มีกำหนดใช้มายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ปัจจุบันได้มีการอัพเดตอัตราภาษีป้ายใหม่ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.2564 โดยกฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้ายไว้ดังนี้

1.ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน
(1.1) ป้ายที่มีข้อความที่เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 10 บาท ต่อขนาดป้าย 500 ตร.ซม.
(1.2) ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ (1.1) อัตราภาษีป้าย 5 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

2.ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และ/หรือปนกับภาพ และ/หรือเครื่องหมายอื่น
(2.1) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
(2.2) ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ (2.1) อัตราภาษีป้าย 26 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

3.ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
(3.1) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ อัตราภาษีป้าย 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
(3.2) ป้ายติดทั่วไปที่นอกเหนือจากข้อ (3.1) อัตราภาษีป้าย 50 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

 ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย 

เมื่อกิจการได้มีการทำป้ายขึ้นมาพร้อมใช้งานแล้ว ก่อนที่จะนำไปติดควรมีการขออนุญาตติดตั้งป้ายก่อน โดยมีขั้นตอนคือ

1.ขอคำอนุญาต โดยแจ้งขนาด พร้อมด้วยภาพถ่ายหรือภาพสเกตช์ของป้าย และแผนผังที่ตั้งของป้ายกับสำนักงานเขต เทศบาล หรือ อบต.
2.ยื่นแบบฟอร์มชำระภาษีป้าย (ภ.ป.1) ซึ่งประกอบด้วย

– บัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขที่ทะเบียนการค้า
– หนังสือรับรองบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (กรณีนิติบุคคล)
– รูปถ่ายป้าย พร้อมขนาดกว้าง x ยาว
– ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย

ในกรณีที่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้ายไว้แล้ว ให้นำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายจากปีก่อนมาแสดงด้วย

3.ชำระภาษีป้ายที่สำนักงานเขต หรือผ่านธนาคารกรุงไทย

– หากเป็นป้ายที่ติดตั้งใหม่ ให้ยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน
– หากเป็นป้ายที่ชำระภาษีต่อเนื่องทุกปี ให้ยื่นแบบ ภ.ป.1 ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี
– หากเป็นป้ายที่ชำระภาษีประจำปี และต้องการเปลี่ยนแปลงป้ายให้แจ้งภายใน 15 วัน
– หากมีการยกเลิกใช้ป้าย เนื่องจากเลิกกิจการให้แจ้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปี

4.สามารถแบ่งชำระได้ เป็น 3 งวด หากภาษีป้ายที่ต้องชำระมากกว่า 3,000 บาท

5.เสียภาษีอย่างต่ำ 200 บาท ในกรณีที่เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีที่ขั้นต่ำจำนวน 200 บาท

  • คำนวณภาษีป้าย…ก่อนตัดสินใจทำป้าย

ตามกฎหมายแล้วหากกิจการมีการทำป้ายที่ไม่เข้าข่ายยกเว้นภาษี ก็จำเป็นต้องเสียภาษีป้าย ไม่ว่าจะมีขนาดเท่าไร โดยมีวิธีการคำนวณภาษีป้ายคือ

กว้าง x ยาว / พื้นที่ 500 ตร.ซม. = พื้นที่ที่ต้องเสียภาษี

  พื้นที่ที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษี = ภาษีป้ายที่ต้องจ่าย

ตัวอย่างเช่น : ป้ายมีขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 2.5 เมตร

100 x 250 ซม. / 500 ตร.ซม. = 50 ตร.ซม.

ทั้งนี้หากเป็นประเภท “ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน” จะคำนวณได้  50×10 = 500 บาท

แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงภาษีป้าย จะต้องเสียภาษีป้ายเพิ่ม จากที่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ซึ่งอัตราค่าปรับมีดังนี้

– ไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 10% ของค่าภาษี
– ไม่ชำระเงินค่าภาษี หลังจากที่ยื่นแบบภายใน 15 วัน จะต้องเสียค่าปรับ 2% ของค่าภาษี
– ถ้ายื่นภาษีไม่ตรงตามความเป็นจริง จะต้องเสียค่าภาษีที่ขาดไป และเสียค่าปรับอีก 10% ของค่าภาษี

ดังนั้น หากกิจการ ร้านค้า หรือใครก็ตามที่ต้องการติดป้ายไว้เพื่อโปรโมท โฆษณาร้านตนเอง โดยที่อาจจะยังไม่ทราบว่าต้องเสียภาษีป้าย หรือป้ายแบบไหนต้องเสียภาษีอย่างไร และเสียภาษีป้ายเท่าไร ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีป้ายให้ดี เพื่อเป็นตัวช่วยในการวางแผนในการจัดทำป้ายให้ถูกต้อง

ติดต่อสอบถาม/แจ้งปัญหา